งามล้ำเครื่องห่ม งามสมหนักหนา
มองแล้วงามตา คุณค่าผ้าไทย
วิจิตรถักทอ ยลยอสไบ
พาดปริวไสว ปรุงใจคนมอง
ชาวเหนือล้านนา
ล้านนามีอณาจักรครอบคุมภาคเหนือของประเทศไทย มีศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาตั้งแต่อดีต ต่อมามีเชียงใหม่เป็นเมืองหลวงศูนย์กลาง ในบางครั้งก้ตกอยู่ในการปกครองของพม่าเป็นเวลานาน จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรีจึงได้มาอยู่ในกราปกครองของอณาจักรสยามตลอดมา
ชาวล้านนามีกรรมวิธีการผลิตผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น มีการทอผ้าชนิดต่างๆขึ้นมาเช่น ผ้าซิ่น ผ้าสไบ สำหรับผู้หญิง ผ้านุ่ง ผ้าต้อย ผ้าเช็ด สำหรับผู้ชาย รวมทั้งผ้าผืนที่ทอด้วยผ้าฝ้ายและผ้าไหม เพื่อตัดเย็บเป็นกางเกงและเสื้อต่างๆ ผ้าซิ่นพื้อเมืองของหญิงล้านนาแต่อดีตนั้นเป็นผ้่ซิ่นลายขวาง ต่างจากผ้าซิ่นของทางภาคอีสานที่เป็นลายตั้ง และถ้าเป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะทอเชิงซิ่นหรือตีนซิ่น
เป็นลวดลายงดงามเรียกว่าผ้าซิ่นตีนจก มีสีและลวดลายแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่มีลักษณะเหมือนกัน คือด้านบนของตีนซิ่นเป็นส่วนที่มีลวดลายส่วนทางล้างสุดเป็นผ้าพื้นสีแดง ซิ่นตีนจกของชนชั้นสูงนิยมทอเป็นผ้าไหมยกดอก บางรั้งเจ้านายล้านนาก็ได้ทอยกหูกและนำช่างเข้ามาทอถวายในราชสำนักกรุงเทพ ด้วย
นอกจากนี้ยังมีผ้าพื้อเมืองของภาคเหนืออื่นๆอีก เช่น ผ้าฝ้ายสอดดิ่นเงินและทอง ผ้าลายน้ำไหลของเมืองน่าน ที่ทอด้วยวิธีกลับด้าย ผ้าล้วงหรือซิ่นล้วง ที่ทอด้วยฝ้าย ใช้วิธีล้วงด้วยมือเป็นลวดลาย ผ้าลายคาดถ่าน เป็นผ้าทอแบบลายมัดหมี่ และยังมีผ้าลับแลของเมืองอุตรดิตถ์ เป็นผ้าซิ่นที่นิยมทอเป็นตาราง ตีนซิ่นเป็นลายจก
กลุ่มชนดั้งที่อาศัยอยู่ในล้านนามีหลายเชื่อชาติ จึงมีการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไปโดยผู้หญิงจะไว้ผมยาว เกล้ารวบรัดด้วยเครื่องประดับ นุ่งผ้าซิ่น ใช่ผ้าคาดออก หรือผ้าสไบห่มเฉียง บางครั้งสวนเสื้อแขนยาวที่ตัดเย็บด้วยผ้าทอ และมีการตกแต่งสาบเสื้อด้วยลายจก ผ้ายกดิ้นหรือสวมเสื้อและมีไสบพาดอีกที หรือห่มเฉียง ใสตุ้มหู และสวมกำไลมือ
ส่านผู้ชายตัดผมทรงปีกนก นุ่งผ้าขนาดสั้นแบบเขมร คือนุ่งโจงกระเบนสูงเหนือเขา เพื่ออวดลวดลายสักบนขา บางครั้งสวมสนับเพราหรือกางเกงด้วยแต่ถอดเสื้อ หรือสวมเสื้อแขนยาวคอปิด ติดกระดุม ป่อยชายเสื้อหรือนุ่งผ้าทับ มีผ้าพาดบ่า ทิ้งชายทั้งสองไปด้านหน้าหรือด้านหลัง นิยมเจาะหุเพื่อใส่ตุ้มหูหรือเสียบดอกไม้ด้วย
ผ้าซิ่น ตีนจกแบบราชสำนัก
ชาวเขาเป็นขนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ห่างไกล บริเวณภูเขาสูงทางภาคเหนือ และในบางจังหวัดของทางภาคกลางชาวเขาในประเทศไทยมีอยู่หลายเผ่า เรียงลำดับตามจำนวนที่มีอยู่มากคือ กระเหรี่ยง แม้ว มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ ส่วนทืี่่มีอยู่น้อยมาได้แก่ ละว้า ถิ่น ลื้อ
การแต่งกายประเพณีของชาวเขา มีลักษณะเฉพาะตัวต่างกันไปหญิงบางชนเผ่าสวมผ้านุ่ง บางเผ่าสวมกางเกงหรือกระโปรง ส่วนใหญ่จะใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกหรือโพกผ้าบนศรีษะ หญิงกระเหรี่ยงมีการแต่งกายที่แบ่งแยกกันคือ หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวมชุดขาวทรงกระสอบ ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะนุ่งผ้าซิ่นและใส่เสื้อ ชายชาวเขาจะนุ่งกางเกงและสวมเสื้อตามแบบของเผ่าตัวเอง
ชาวเขามีการทอผ้าและปักลายผ้าขึ้นตามแบบที่สืบทอดกันมา ทั้งสีสันและลวดลายแต่งต่างกันไปตามชนเผ่าตนเอง บางเผ่านิยมตกแต่งเสื้อผ้าด้วยเครื่องประดับเงิน สวมกำไล ห่วงคอ สร้อยคอ และเข็มขัดที่งดงาม รวมถึงลูกปักที่มีสีสันสวยงามด้วย
ชาวเขามีการทอผ้าและปักลายผ้าขึ้นตามแบบที่สืบทอดกันมา ทั้งสีสันและลวดลายแต่งต่างกันไปตามชนเผ่าตนเอง บางเผ่านิยมตกแต่งเสื้อผ้าด้วยเครื่องประดับเงิน สวมกำไล ห่วงคอ สร้อยคอ และเข็มขัดที่งดงาม รวมถึงลูกปักที่มีสีสันสวยงามด้วย
การแต่งกายแบบสาวชนเผ่าไทลื้อ
อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก `หนังสือการแต่งกายไท-สยาม1, การแต่งกายชาวไท-สยาม2, การแต่งการสมัยรัตนโกสินทร์
เว็บ - Facebook สิปาน ผ้าล้านนา ผ้าชนเผ่า
แหล่งข้อมูลจากผู้รู้ คุณพิชญ์ บุษเนียร์ ผู้ชำนานการเรื่องการแต่งกายล้านนา
แหล่งข้อมูลจากผู้รู้ คุณพิชญ์ บุษเนียร์ ผู้ชำนานการเรื่องการแต่งกายล้านนา